Skip to main content

[Network] question & answer ?

Q: Which type of network application requires more elaborate software: connectionoriented
or connectionless? Explain.

A: Connection Oriented ใช้มากกว่า
เพราะ
Connection-Oriented ต้องสร้าง connection ทำให้เสียเวลาในตอนเริ่มต้นทำการส่ง หลังจากนั้นจึงเริ่มส่งได้ ข้อดีคือมีการรับประกันว่าข้อมูลถึงปลายทางอย่างถูกต้อง ตัวอย่างรูปแบบการส่งคือ TCP
Connectionless ไม่มีการสร้าง connection เหมือนกับแบบ Connection-oriented สามารถทำการส่งได้เลย ทำได้รวดเร็ว แต่ไม่มีการรับประกันว่าข้อมูลถึงปลายทางถูกต้อง ตัวอย่างรูปแบบการส่งคือแบบ UDP

Q: What are the differences between a centralized routing and a distributed routing?
A:
การค้นหาเส้นทางจากโหนดศูนย์กลาง (Centralized Routing) จะกำหนดให้โหนด ซึ่งทำหน้าที่ในการเลือกเส้นทางเดินข้อมูลให้กับโหนดอื่นในระบบเครือข่าย โหนดนี้จะทำหน้าที่เป็นผู้จัดการบริหารเครือข่ายการค้นหาเส้นทาง ซึ่งจะต้องเก็บตารางเส้นทางเดินข้อมูลและจัดการปรับปรุงข้อมูลข่าวสารทั้ง หมดที่เกิดขึ้นตลอดเวลา โหนดอื่นที่เหลือจะต้องรายงานข่าวเกี่ยวกับสถานะการทำงานของตนเอง เช่น ปริมาณข้อมูลที่รับเข้ามา ปริมาณข้อมูลที่ส่งออกไปและกระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นให้แก่โหนดศูนย์กลางเป็นระยะ ดังนั้นโหนดศูนย์กลางจึงเป็นที่รวบรวมข้อมูลสถานะการทำงานทั้งหมดที่เกิด ขึ้นบนระบบเครือข่าย จึงทราบว่าส่วนใดในระบบเครือข่ายที่มีการใช้งานมากหรือน้อยเพียงใด
ข้อด้อยที่สำคัญของการทำงานแบบศูนย์กลางคือ ถ้าตำแหน่ง (สถานที่ที่ตั้งที่ใช้งานจริง) ของโหนดศูนย์กลางไม่อยู่ตรงกลางระบบแล้ว ข้อมูลเกี่ยวกับเส้นทางและสถานะการทำงานของโหนดที่อยู่อีกฟากหนึ่งจะต้องใช้ เวลาพอสมควรกว่าที่จะเดินทางมาถึงโหนดศูนย์กลาง ระยะเวลาที่ช้าเกินไปนี้อาจทำให้ข้อมูลในตารางเส้นทางไม่สอดคล้องกับความ เป็นจริงที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนั้น ประสิทธิภาพของระบบเครือข่ายก็จะลดลง ปัญหาที่สำคัญอีกข้อหนึ่งคือ ถ้าโหนดศูนย์กลางเกิดหยุดทำงาน โหนดอื่นในระบบจะไม่สามารถค้นหาเส้นทางได้

การค้นหาเส้นทางที่ตัวโหนดเอง (Distributed Routing) กำหนดให้แต่ละโหนดจัดการเก็บ ตารางเส้นทางไว้ โดยแต่ละโหนดมีหน้าที่ส่งข้อมูลสถานะการทำงาน (เช่นเดียวกับแบบศูนย์กลาง) ไปยังโหนดข้างเคียงของตนเองทุกโหนด ข้อมูลในตารางเส้นทางจึงเป็นเพียงข้อมูลสถานะการทำงานย่อย และเนื่องจากจำนวนโหนดข้างเคียงจะมีอยู่ไม่มากนักทำให้แต่ละโหนดสามารถปรับ ปรุงข้อมูลให้มีความทันสมัยอยู่ตลอดเวลา การที่โหนดหนึ่งหยุดทำงานก็จะไม่มีผลต่อการค้นหาเส้นทางของโหนดอื่น ในระบบนี้ แม้ว่าจะมีปริมาณข้อมูลเพิ่มขึ้น (เพื่อแจ้งสถานะการทำงาน) แต่ประสิทธิภาพที่สูงขึ้น ก็ถือว่าคุ้มค่า
สรุป
ความแตกต่างระหว่าง Centralized Routing กับ Distributed Routing
Centralized Routing มีการเก็บข้อมูลไว้ที่โหนดเดียว เวลาระบบโหนดศูนย์กลางล้มเหลวของสัญญาณ ก็จะทำให้โหนดอื่นใช้งานไม่ได้ไปด้วย
Distributed Routing โหนดทุกโหนดเป็นศูนย์กลางเอง ระบบนี้แทบที่จะไม่มีการล้มเหลวของสัญญาณแน่นอน แต่ระบบมีการใช้ทรัพยากรของระบบในการจัดการปริมาณของข้อมูลสูงมาก

Credit: http://www.dcs.cmru.ac.th/lesson6_2.php

การสื่อสารข้อมูลแบบ Connection-Oriented และ Connectionless

การสื่อสารข้อมูลแบบ Connection-Oriented และ Connectionless

การสื่อสารข้อมูลแบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนั้น จะทำได้โดยใช้กฏข้อบังคับที่เรียกว่า IP (Internet Protocol) เครือข่ายอินเตอร์เน็ตบางครั้งจึงถูกเรียกว่า เครือข่าย IP (IP Netwrok) โดย IP จะโปรโตคอลในระดับที่ 3 ของ OSI Model หรือ Network Layer โดยจะมีโปรโตคอลระดับสูง(ระดับที่ 4 ของ OSI Model คือ Transport Layer) ที่ทำงานอยู่เหนือระดับ IP อีกที คือ TCP (Transmission Control Protocol) และ UDP (User Datagram Protocol)

TCP จะเป็นการสื่อสารข้อมูลแบบ Connection-Oriented คือมีลักษณะเหมือนการส่งข้อมูลเสียงทางโทรศัพท์ คือผู้ใช้ต้องสร้าง connecttio (หมุนโทรศัพท์) แล้วถึงส่งข้อมูล (พูดโทรศัพท์) และเมื่อใช้เสร็จแล้วก็ยกเลิก connection (วางสายโทรศัพท์) การส่งข้อมูลแบบนี้ เปรียบเสมือนส่งของผ่านท่อ คือผู้ส่งส่งของทีละชิ้นไปตามท่อ แล้วผู้รับซึ่งอยู่อีกปลายหนึ่งของท่อก็รับของทีละชิ้นออกจากท่อ ตามลำดับที่ของถูกส่งมา

TCP ซึ่งเป็นแบบ Connection-Oriented นี้ จะต้องเสียเวลาในการเริ่มต้นทำการสื่อสารค่อนข้างนาน การรับส่งข้อมูลจะมีความถูกต้อง และรับรองการได้รับของอีกฝ่ายได้แน่นอน โดยผู้ส่งจะรอรับคำยืนยันว่า “ได้รับแล้ว” ของข้อมูลชุดที่แล้วจากผู้รับเสียก่อน จึงค่อยดำเนินการส่งข้อมูลชุดต่อไป เหมาะกับข้อมูลปริมาณมากๆ และมีความสำคัญ ตัวอย่างการใช้งานที่ใช้ TCP เช่น E-mail , World Wide Web และ FTP (File Transfer Protocol) เป็นต้น

สำหรับแบบ UDP จะเป็นการสื่อสารข้อมูลอีกชนิดหนึ่งที่เราเรียกว่า Connectionless แบบนี้มีลักษณะคล้ายการส่งจดหมาย  ในระบบไปรษณีย์ กล่าวคือข้อมูลหน่วยย่อย (จดหมายแต่ละฉบับ) มีที่อยู่ปลายทางของผู้รับ และแต่ละหน่วยข้อมูลจะถูกส่งต่อเป็นช่วงๆ (ผ่านที่ทำการไปรษณีย์แต่ละพื้นที่) จนถึงจุดหมาย การส่งข้อมูลลักษณะนี้แต่ละหน่วยข้อมูลอาจมีเส้นทางต่างกันเล็กน้อย และเป็นไปได้ว่าจดหมายที่ส่งทีหลังอาจถึงปลายทางก่อน

แบบ Connectionless นี้ การเริ่มต้นส่งสามารถทำๆได้รวดเร็ว เนื่องจากไม่ต้องเสียเวลา สร้าง connection แต่ก็ไม่สามารถรับรองการได้รับข้อมูลของอีกฝ่าย เหมาะกับการส่งข้อมูลเพียงเล็กน้อย ส่งเพียงครั้งเดียวก็เสร็จสิ้น หรือข้อมูลที่ไม่สำคัญมาก สามารถสูญเสียได้บางส่วน ตัวอย่างงานที่ใช้ UDP เช่น สัญญาณ   Video , เสียง ซึ่งข้อมูลสามารถหายไปบางส่วนได้

สรุป

  • TCP เป็นแบบ Connection-Oriented ต้องสร้าง  connection เสียเวลาตอนเริ่มต้น หลังจากนั้นจึงเริ่มส่งได้ มีการรับประกันว่าข้อมูลถึงปลายทางอย่างถูกต้อง
  • UDP เป็นแบบ Connectionless ไม่มีการสร้าง connection ส่งได้เลย ทำได้รวดเร็ว แต่ไม่มีการรับประกันว่าข้อมูลถึงปลายทางถูกต้อง

Reference : ภัทระ เกียรติเสวี , สร้างอินเทอร์เน็ตเซิร์ฟเวอร์ด้วย Linux กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชัน , 2542 . 436 หน้า.

Credit: http://www.sa.ac.th/e-learning/internet/connection.html

Translate »