Skip to main content

SEO (Search Engine Optimization)

SEO (Search Engine Optimization)

SEO คืออะไร SEO (เอสอีโอ) มาจากคำเต็มๆ ว่า Search Engine Optimization ความหมายแบบบ้านๆ ลูกทุ่งๆ ก็คือ การปรับแต่งเว็บไซต์ และกระบวนการต่างๆ ของเว็บไซต์ตั้งแต่การออกแบบ เขียนโปรแกรม และการโปรโมทเว็บ เพื่อให้ติดอันดับต้นๆ ของ Search Engine (เครื่องมือค้นหาเว็บไซต์ต่างๆ เช่น Google, MSN, Yahoo, AOL เป็นต้น)

ขั้น ตอนการทำ SEO ขั้นที่ 1 วิเคราะห์คู่แข่งและเลือกคีย์เวิร์ด ก่อนที่จะลงในเนื้อหา ขั้นตอนนี้ ผมจะพูดถึงเรื่อง SEO (Search Engine Optimization) กันก่อนนะครับ เผื่อมีบางคนหลงทางมาเจอ จะได้รู้ว่า SEO มันคืออะไร สำคัญยังไง ทำไมต้องทำ SEO ทำไมมีคนกล่าวถึงกันมากเหลือเกิน (ในกลุ่มเว็บมาสเตอร์และคนที่เป็นเจ้าของเว็บไซต์ต่างๆ) ขึ้นอยู่กับความขยันของแต่ละคนอีกหล่ะครับ SEO มันไม่ได้เป็นกฏตายตัว (เราไม่ใช่Google เอ็มเอสเอ็น หรือ ยาฮูนี่ครับ) มันมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ใครขยันหาข้อมูล รู้จักสังเกต นำมาปรับแต่งก็ได้เปรียบหล่ะครับ

SEO สำคัญยังไง อินเตอร์เน็ตในยุคปัจจุบันนี้ คนส่วนใหญ่ใช้ Search Engine ในการค้นหาข้อมูล แทนที่จะต้องพิมพ์ URL (Uniform Resource Locator) ก็ใช้ Keyword (คำค้น) ป้อนลงไปใน Search Engine Box ต่างๆ ก็จะค้นหาสิ่งที่ตัวเองต้องการได้อย่างง่ายดาย และตรงประเด็น มีให้เลือกเปรียบเทียบอีกหลายๆ แห่ง สำหรับเรื่องๆ นั้น และเมื่อค้นพบแล้ว ก็จะมีการแสดงผลออกมาหลายๆ หน้า หลายๆ เว็บไซต์ เว็บที่ถูกแสดงเป็นอันดับที่ 1 2 3 หรือที่แสดงผลในหน้าแรก ก็จะถูกคลิกเข้าไปดูข้อมูลมากที่สุด ด้วยเหตุนี้เอง เว็บไซต์ต่างๆ ย่อมต้องการให้เว็บตัวเองขึ้นอันดับ 1 ของ Keyword นั้นๆ เผื่อผลประโยชน์หลายๆ ด้านเช่น ขายสินค้า โฆษณา หรือโปรโมทร้านค้า บริษัทของตัวเอง ทำให้ได้เปรียบคู่แข่ง ดังนั้น ผมสรุป ความสำคัญของ SEO ออกมาเป็นข้อๆ ดังนี้นะครับ (ใครต้องการเพิ่มก็เขียนไว้ที่ คอมเม้นท์นะครับ)

ทำให้เว็บของเราติดอันดับต้นๆ ในการแสดงผลงการค้นหา
การเขียน Title ที่ดี Keyword Intrend ช่วยทำให้สะดุดตา แม้อันดับต่ำกว่า ก็มีสิทธิ์ถูกคลิกมากกว่า
ทำ ให้เว็บเราถูกหลักของ W3C ซึ่งเป็นมาตรฐานของภาษาที่ใช้เขียนเว็บ ทำให้ดูสละสลวยเมื่อ Search Engine มาเจอก็เก็บข้อมูลต่างๆ ได้ง่าย
เมื่อติดอันดับต้นๆ ทำให้ขายสินค้าได้ โฆษณาเข้ามา เพราะมีทราฟิก
ติด Adsense ก็มีโอกาสที่จะได้รับเงินค่าโฆษณาที่สูงด้วย เพราะมีทราฟิกก็มีโอกาส

การสร้างเว็บไซต์ให้ผู้เข้าชมติดใจเว็บไซต์คุณ

หาก คุณทำตามขั้นตอนเหล่านี้อย่างเคร่งครัด คุณจะประสบความสำเร็จภายในหนึ่งปี ถ้าเว็บไซต์ของคุณเป็นภาษาอังกฤษ แต่ถ้าเป็นภาษาไทย ยอดน่าจะได้ประมาณ 2000 คนต่อวัน หลายๆคนอาจจะไม่เชื่อว่าเป็นไปได้ ผมเองก็ไม่อยากจะเชื่อ แต่ไม่เชื่อนั่นแหละดี เราจะได้พิสูจน์กันไปพร้อมๆกันเลยว่า อีกหนึ่งปีข้างหน้า ยอดเว็บของเราจะพุ่งถึง 2000 คนต่อวัน จริงหรือเปล่า? ลองมาทำตามไปพร้อมๆกันเลยครับ (บทความนี้ เน้นถึงการทำเว็บไซต์ที่เหมาะกับ Search Engine และดึงผู้เข้าชมจาก Search Engine เป็นหลัก)

A) เตรียมตัวให้พร้อม:
เตรียม ตัวคุณให้พร้อม และเตรียมเนื้อหาให้พร้อม เนื้อหาของเว็บไซต์สำคัญกว่าชื่อโดเมนเสียอีก ถ้าหากคุณคิดชื่อโดเมนได้ แต่ไม่มีเนื้อหา คนเข้ามาก็จะรู้สึกแย่กับเว็บคุณ แล้วก็จะไม่กลับมาหาคุณอีกเลย! ทางที่ดี ควรจะเผื่อเนื้อหาไว้ให้พร้อมซัก 100 หน้าเป็นอย่างน้อย ที่สำคัญๆก็อย่างเช่น About Us หรือ Company Profile, Contact Us, Privacy Policy, Terms of Agreement เป็นต้น และถ้าเป็นไปได้ ต้องเป็นเนื้อหาที่หาที่ไหนไม่ได้ ตรงมาอ่านที่เว็บไซต์ของคุณเท่านั้น จะเยี่ยมมากๆ

B) ชื่อโดเมน:
ต้อง เน้นให้ จำง่าย, พิมพ์ง่าย ยิ่งพยางค์น้อย หรือน้อยตัวอักษรได้เท่าไหร่ยิ่งดี ถ้าจะให้ดีมี keyword สำคัญๆของคุณอยู่ในโดเมนด้วยยิ่งดี แต่บางคนก็คิดว่า ชื่อโดเมนที่มี keyword อยู่ด้วยนั้น “Out” ไม่ทันสมัย เชยระเบิดระเบ้อ นั่นก็ขึ้นอยู่กับความชอบเป็นการส่วนตัว อย่าง SEO-Thai นี่จะถือว่ายาวก็ได้ สั้นก็ได้อีก หรือชื่อที่ไม่มีความหมายอย่าง Google ใครจะคิดว่าจะดังเปรี้ยงปร้างขนาดทุกวันนี้ นั่นขึ้นกับหลักง่ายๆที่ว่า ของดีเสียอย่าง ใครๆก็อยากได้ เพราะฉะนั้น เตรียมเนื้อหาของคุณให้ดี เอาเวลาคิดชื่อโดเมนเก๋ไก๋ไปทำเนื้อหาดีกว่าครับ

C) ออกแบบหน้าตาเว็บไซต์ให้ใช้ง่าย และตรงกับกลุ่มเป้าหมาย:
ง่าย ไว้ก่อน ดีที่สุด ! ดีทั้งกับ Spiders และดีทั้งผู้เข้าชม, ดีกับ Spiders จะทำให้คนค้นหาเว็บไซต์ของคุณได้ง่าย และทำให้มีคนเข้ามามาก และเมื่อเข้ามาแล้วเว็บไซต์ใช้งานง่าย ทำความเข้าใจง่าย เนื้อหาก็ดี โดเมนจำง่าย ใครจะไม่เข้ามาอีก  คุณอาจจะถามไปอีกว่า ง่ายน่ะ ง่ายยังไง เว็บของผมไม่เห็นจะใช้งานยากตรงไหนเลย? ผมมีวิธีทดสอบสองวิธีครับ

วิธี แรก ให้ลองนึกไปถึงวันแรกๆที่คุณใช้คอมพิวเตอร์ เล่นอินเทอร์เนต ความรู้สึกในวันนั้น คุณคงจำได้ว่า มันเงอะๆงะๆไปหมด ปุ่มไหนคืออะไร จะไปหน้าอื่นต้องทำอย่างไร รู้สึกว่ามันมีปุ่มอะไรต่างๆเยอะแยะไปหมด เอาง่ายๆ Mouse ยังใช้ไม่คล่องเลย! จริงมั้ยครับ? ลองนึกไปถึงวันนั้น แล้วดูเว็บของคุณอีกทีว่า ถ้าคุณในวันนั้นมาเข้าชมเว็บคุณ จะรู้สึกอย่างไร?

วิธีที่สอง เป็นวิธีทดสอบโดยใช้อาสาสมัคร โดยคุณจะต้องหาคนที่ไม่เคยใช้เว็บของคุณเลย จะเป็นคนที่ใช้อินเทอร์เนตคล่องอยู่แล้ว หรือจะเป็นมือใหม่หัด Serve Net ก็สุดแท้แต่ ขอให้มีเขายินดีมาเป็นตัวทดสอบเป็นใช้ได้ การทดสอบก็ง่ายๆ โดยการที่คุณตั้งโจทย์ให้ผู้ทดสอบทำอะไรซักอย่างเกี่ยวกับเว็บไซต์ของคุณ เช่น อาจจะให้ลองเลือกซื้อของ หรือหาบทความที่มีอยู่ในเว็บ และคุณนั่งดูอยู่ข้างหลัง ดูอย่างเดียวนะครับ ห้ามแนะนำใดๆทั้งสิ้น ดูว่าเขาใช้งานได้คล่องเหมือนคุณหรือเปล่า? ถ้าไม่เกิน 20 นาทีก็ถือว่าผ่านครับ

อีกอย่างก็คือต้องพยายามจัดเนื้อหาของหน้า แรกให้ตรงกับกลุ่มคำ หรือข้อความในหัวข้อหลักของเว็บ มันจะมีความจำเป็นเมื่อ search engine ส่ง bot มาสำรวจเว็บของคุณมันจะได้รู้สึกว่าเว็บของคุณมีเนื้อหาไปในทำนองเดียวกับ meta-tag หรือ title จริงๆ

ความเร็วอาจจะไม่ใช่ทุกอย่าง การทำให้โหลดเร็วเข้าว่าเพียงอย่างเดียวก็อาจจะทำให้เว็บขาดความน่าสนใจไป มันอยู่ที่ว่าคุณจัดสรรหรือคัดเรื่องเด่นแค่ไหนเข้ามาลงหน้าแรก

D) ขนาดของข้อมูลในแต่ละหน้า (File Size):
ยิ่ง เล็กยิ่งดี แต่กำลังพอดีจะดีที่สุด  ถ้าเนื้อหามีน้อยก็ควรใส่รูปภาพประกอบ ตกแต่งให้สวยงาม แต่ถ้าเนื้อหามีมาก ถ้าใส่ไว้ในหน้าเดียวอาจจะทำให้โหลดข้อมูลนานเกินไป ควรจะทำการแบ่งเป็นหน้าๆ ตั้งชื่อแต่ละหน้า ตามหัวข้อของหน้านั้นๆ ไม่ต้องกังวลเรื่องขนาดของไฟล์มากจนเกินไป ควรจะแบ่งให้อ่านแล้วรู้เรื่อง ไม่ใช่แบ่งซอยยิบเกินไป หวังให้โหลดเร็ว อย่างนั้น Search Engine ชอบ แต่คนไม่ชอบ เข้ามาแล้วอาจจากไปลับก็ได้ ควรให้พอดีๆ

E) เนื้อหา:
ทำ เนื้อหาตาม Keyword ที่เหมาะกับเว็บไซต์ของคุณ โดยการตั้ง Keyword เป็นตัวตั้ง ยกตัวอย่างเช่น เว็บของคุณขายต้นไม้ส่งในประเทศ คุณอาจจะเลือก “ไม้ประดับ” หรือ “ไม้มงคล” เป็น Keyword แล้วทำเนื้อหาตาม Keyword ที่เลือกไว้ แล้วคอย Update อย่างสม่ำเสมอ รับรองว่า “ไม้มงคล” หรือ “ไม้ประดับ” ของคุณจะออกดอกออกผลให้ได้ชื่นชมแน่ๆ

F) จำนวน Keyword และการจัดวางตำแหน่งในแต่ละหน้า:
แน่ นอนว่า ถ้าคุณอยากให้ Search Engine หาคุณพบด้วย Keyword คำไหน แต่ไม่มีคำนั้นๆในเว็บไซต์ของคุณเลย จะเป็นไปได้หรือ? และถ้ามีมากจนล้นเลยยิ่งแล้วใหญ่ (Spam) Search Engine เกลียดนัก ถือว่าดูถูกความสามารถกันอย่างร้ายแรง คุณต้องระวังให้จงหนักเลย ทางที่ดีควรจะมีไม่เกิน 5% ต่อจำนวนคำทั้งหมดในหน้านั้น (ไม่นับ Tag HTML) แต่ถ้าจำเป็นจะต้องมี Keyword คำนั้นๆมากๆ เพราะเหตุการณ์บังคับ ก็ควรจะใช้มุขเดิมคือ แบ่งเป็นหลายๆหน้า หรือหาเนื้อหาอื่นๆมาเพิ่ม ลดทอนจำนวน Keyword นั้นลง

G) การเชื่อมโยงไปเว็บไซต์อื่นๆ:
เชื่อม โยงถึงเว็บไซต์ใหญ่ๆ ด้วย Keyword ในหน้านั้นเป็นการอ้างอิงให้ผู้เข้าชมเชื่อถือ แถมยังอ้างให้ Search Engine รู้ด้วยว่าเราเป็นเว็บที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆได้ง่ายยิ่งขึ้น (Ralate Link) เพราะเว็บไซต์ใหญ่ๆนั้น Search Engine รู้จักดีอยู่แล้ว เมื่อเราอ้างถึงเว็บไซต์นั้นๆ Search Engine จะสร้างความสัมพันธ์กับเว็บไซต์ของคุณ กับ Keyword ที่คุณ link ออกไป เปรียบเหมือนการแนะนำตัวกับ Search Engine เว็บไซต์ของเราอยู่หมวดหมู่ไหนนั่นเอง

H) โครงสร้างของการเชื่อมโยงภายในเว็บไซต์ของคุณ (Cross Links หรือ Link Structure):
cross links ก็คือ links การเชื่อมโยงข้อมูลภายใน website ของเรานั้นเอง ถ้าคุณทำเว็บไซต์เกี่ยวกับอาหาร คุณอาจจะต้องมีการเชื่อมโยงไปยัง หน้า แอปเปิ้ล หรือ ผักผลไม้อื่นๆ หรืออะไรก็ตามที่ชื่อพ้องกับเนื้อหาของเว็บไซต์ของคุณ ไม่จำเป็นจะต้องทำทุกหน้า แต่ถ้าคุณขยันและมีเวลาพอละก็ ผมแนะนำให้คุณทำ link ในคำทุกคำที่สามารถ link ได้ แต่ต้องไปหาหมวดหมู่หรือหน้าที่เกี่ยวข้องนะครับ และที่สำคัญมากๆ ทุกหน้าควรมี link ไปหน้าแรกเสมอ ห้ามลืม เด็ดขาด!!!

I) ได้เวลาออนไลน์:
ถ้า คุณมีทุนทรัพย์เพียงพอ คุณควรเลือก Hosting ที่มี IP ให้สำหรับคุณคนเดียว ไม่ควรเลือกแบบ Virtual Host แต่ถ้าเบี้ยน้อย หอยน้อย เลือก ็Host ราคาถูกๆ แต่ไม่ค่อยล่ม ก็พอได้อยู่ เมื่อมี Hosting แล้ว เนื้อหาพร้อมแล้ว link sturcture ทำได้นวลเนียนดีแล้ว ก็ออนไลน์ออกสู่โลกกว้างได้เลยครับ และขอให้จำไว้เลยว่า ถ้าไม่พร้อม อย่าเพิ่งออนไลน์เด็ดขาด นอกเสียจากคุณไม่แคร์ และคุณมีวินัยเพียงพอที่จะเพิ่มเนื้อหาได้อย่างต่อเนื่อง แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ผมแนะนำให้คุณใจเย็นๆ รอให้พร้อมก่อนดีกว่าอยู่ดี

J) Submit:
ได้ เวลาของการโฆษณาแล้วครับ ขั้นตอนนีคือการเอาเว็บของคุณไป submit ตาม search engine ต่างๆ เท่านี้แหละครับ อย่าไปคาดหวังว่าจะได้รับการจัดอันดับในเร็ววันครับ คอยตรวจสอบบ้างสัปดาห์ละครั้งก็พอ

K) ตรวจสอบและติดตามผล:
ทำ ได้โดยการวิเคราะห์ log ครับ ไม่ต้องไปสนใจข้อมูล graphics ที่สวยงามแต่ไม่ได้ให้ข้อมูลอะไร ทำนอง “สวยแต่รูป จูบไม่หอม” ไม่เอาครับ logs file คือสิ่งที่เราต้องการ อย่าลืมดูว่า logs มีข้อมูล referer หรือเปล่า ถ้าไม่ก็ย้าย hosting ดีกว่าครับ ถ้าคุณอ่าน Logs File ไม่เป็น ผมแนะนำให้คุณจ้างโปรแกรมเมอร์ มาจัดส่วนตรงนี้ให้คุณดีกว่า บอกความต้องการเขาไปว่า อยากให้เขียนโปรแกรมวิเคราะห์ Log File ให้แสดงผลออกมาในแบบคุณอ่านรู้เรื่อง หรือหาๆเอาใน internet นี่แหละครับ ของฟรี ดีด้วย ยังมีอีกเยอะ เพียงแต่คุณจะหามันเจอหรือเปล่าเท่านั้นเอง

L) เอาอกเอาใจ Spider ให้มากๆเข้าไว้:
ให้ คุณคอยดูว่า มีแมงมุม (Spiders) มีล่าเหยื่อ (เนื้อหา) ของคุณไปติดหรือยัง? หมายความว่า Search Engine ส่ง Bot หรือ Spider เข้าไปเก็บข้อมูลเว็บไซต์ของคุณไปหรือยัง ตรวจสอบง่ายๆด้วยการใช้คำสั่ง site:www.seo-thai.com โดยเปลี่ยนจาก seo-thai เป็นชื่อโดเมนของคุณเอง เท่านี้ คุณก็จะได้รู้ว่า แมงมุมฮุบเหยื่อยัง  ถ้ายัง ต้องรีบมาตรวจแล้วว่าผิดกฏของ Search Engine บ้างหรือเปล่า? โครงสร้าง Link ดีหรือไม่อย่างไร มีเว็บอื่นสร้าง link มาหาคุณบ้างหรือเปล่า ถ้าไม่มีเลย คุณก็ต้องหาพันธมิตรให้ได้ ไม่งั้นเว็บของคุณก็จะกลายเป็นเว็บร้างแน่ๆ

M) จัดหมวดหมู่ให้เรียบร้อย เน้นเข้าใจง่าย ใช้ง่ายเป็นหลัก:
พยายามจัดหมวดหมู่ของ keyword ให้เป็นเรื่องเดียวกับ topic ของมันครับ ไม่มีอะไรมาก

N) Links จากเว็บประเภทเดียวกัน:
ในกรณีที่เว็บของคุณได้รับการ index บน www.dmoz.org แล้ว ให้คุณพยายามขอแลก link กับเว็บในหมวดหมู่เดียวกัน ถ้าเขาไม่ยอมรับแลกก็ไม่เป็นไร ขอกับเว็บอื่นก็ได้ ใครก็ได้ที่ยอมรับการแลกกับเรา เน้นให้พยายามแลก link กะเว็บที่ค่อนข้างจะมีการ update อย่างต่อเนื่อง

O) เนื้อหาๆๆ:
ควร จะมีหน้าที่มีเรื่องที่เด่นๆ ในแต่ละวัน โดยถ้าเป็นบท ความยาวๆ หน่อยจะดีมาก อย่าพยายามลงในเรื่องที่มีคนสนใจน้อย หรือเรื่องที่มันกว้างเกินไป อันนี้คุณต้องกลับไปค้นหนังสือวิชาภาษาไทยเรื่องการเขียนเรียงความมาอ่านสัก หน่อยก็จะดีครับ เขียนให้อ่านง่ายๆไว้ก่อน สำนวนภาษาเป็นเรื่องเฉพาะตัว แต่ก็ฝึกกันได้ ขอให้เขียนทุกวันเป็นใช้ได้ เมื่อครบปีแล้ว คุณลองกลับมาอ่านบทความแรกๆที่คุณเขียน คุณจะได้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างมากทีเดียว

P) ลูกเล่น ต่างๆ:
พยายาม หลีกเลี่ยงลูกเล่นแปลกๆ ที่อาจจะสร้างความ สนุกให้ท่าน แต่นั่นอาจจะสร้างความรำคาญให้แก่คนที่เข้ามาชมก็เป็นได้ พยายามให้มันดูกลางๆ ไม่จืดหรือหวือหวาจนน่ารำคาญ

Q) Link จากเว็บพันธมิตร:
ข้อ นี้จะต่างจากข้อ N ตรงที่อาจจะเป็น Link ที่ไม่ได้มาจากเว็บในประเภทเดียวกัน แล้วจำเป็นที่จะต้อง Link กลับไปหาเว็บนั้นๆด้วย เรียกง่ายๆว่า “การขอแลก Link” นั่นเอง อันนี้ผมแนะนำว่าคุณจำเป็นต้องเลือกสักหน่อย อย่า Link ไปสะเปะสะปะ เพราะถ้า link ปลายทางเป็น เว็บโป๊ ละก็ ภาพลักษณ์ของเว็บของคุณก็จะถูกมองเป็นเว็บแนวๆนั้นทันที เสียทั้งหน้าตา และ Search Engine ก็จะงงกับเว็บคุณอีกด้วย

R) บริการเสริม:
เพิ่ม บริการเสริมที่จำเป็นอย่างเช่น “ส่งเว็บนี้ให้เพื่อน” กระดานสนทนา หรือจดหมายข่าว เป็นต้น เท่านี้ก็แทบจะเพียงพอแล้ว อย่าเพิ่มลูกเล่นอื่นๆที่ไม่จำเป็น เพราะนั่นอาจจะทำให้ค่าใช้จ่ายในการจ้างทำเว็บของคุณสูงจนเกินจำเป็น แถมยังเปล่าประโยชน์อีกด้วย

S) อย่ายัดเยียดโฆษณา!:
ถ้า เว็บไซต์ของคุณเป็นเว็บไซต์ขายสินค้า ขอให้ระมัดระวังเรื่องการโฆษณาสักหน่อย อย่ายัดเยียดจนดูน่าเกลียด ต้องทำให้ดูแนบเนียนประมาณว่า ผู้เข้าชมได้รับชมโฆษณาไปโดยไม่รู้ตัว อย่างนั้นได้ยิ่งดี โปรดระลึกไว้เสมอว่า ผู้ชมเข้าเว็บของคุณเพราะต้องการเนื้อหา หรือ สินค้าที่ต้องการ ไม่ใช่ “โฆษณา”

T) เพิ่มเนื้อหา หรือ สินค้า บ่อยๆและสม่ำเสมอ:
ควรเพิ่มเนื้อหา หรือบทความอย่างสม่ำเสมอ สิ่งนี้แทบจะเรียกได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการทำเว็บไซต์เลยทีเดียว

U) เรียนรู้เรื่อง Logs:
หลังจากเปิดดำเนินการได้ 30-60 วัน ก็ได้เวลาที่จะต้อง ทำตัวเป็นนักวิเคราะห์ข้อมูลกันแล้วครับ ข้อมูลที่จะนำมาวิเคราะห์ก็ควรจะนำมาจาก Log Files นั่นเอง คุณควรจะคอยดูว่าผู้เข้าชมใช้ Keyword คำไหนเข้ามาสู่เว็บคุณ อาจจะเป็นคำที่คุณไม่ได้เตรียมไว้ (Optimize) ถ้าเป็นอย่างนั้นคุณควรจะ Optimize เพิ่ม ยกตัวอย่างเช่น ผู้เข้าชม มักจะใช้คำว่า “orange citrus fruit” แต่ว่าคุณเตรียมเนื้อหาไว้สำหรับคำว่า “oranges” ฉะนั้นคุณควรจะเตรียมเนื้อหาสำหรับคำว่า “citrus” และ “fruit” แล้วก็ทำ Cross Links ถึงกัน

V) การกะระยะเวลา:
เมื่อ ทำให้เว็บไซต์ได้รับความนิยมแล้ว ไม่ได้ทำให้คุณหมดหน้าที่ไป เพราะคุณยังคงต้องเฝ้าประคบประหงม เว็บของคุณให้ติดอันดับต่อไปอีก เหมือนขี่หลังเสือไม่อาจจะลงได้ การะวิเคราะความเป็นไปก็ยังค้องต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง อย่าลืมนะครับว่า กว่าที่ keyword ของคุณจะไปประกฎใน search engine อาจจะใช้เวลานานถึง 3 เดือน เช่นถ้าคุณต้องการให้ผลิตภัณฑ์ของ คุณปรากฏอยู่ใน search engine ในตอนต้นปี คุณอาจจะต้องทำ web ให้เสร็จก่อนหน้านั้นถึง 3 เดือนเป็นอย่างน้อย

W) เพื่อนและพันธมิตร:
ใน โลกความเป็นจริงคุณต้องมีเพื่อนหรือทำความรู้จักผู้คน ในโลกอินเทอร์เน็ตก็เช่นกัน คุณควรจะทำความรู้จักผู้คน โดยการเข้าที่กระดานสนทนา หรือ กระดานข่าวในเรื่องที่คุณสนใจ แต่ว่ากระดานสนทนาเกี่ยวกับ SEO ในบ้านเรายังไม่เห็นมี คุณต้องหากระดานสนทนาของประเทศ เช่นhttp://www.searchengineworld.com เป็น และเมื่อคุณเข้าไปแล้ว ก็ใช่ว่าควรจะอ่านอย่างเดียว คุณควรจะสมัครสมาชิก รับจดหมายข่าว แสดงความเห็นหรือสอบถามบ้าง อย่าลืมว่ากระดานข่าวไม่ใช่แค่เข้าไปแล้ว อ่านๆ อย่างเดียว แต่กระดานข่าวตอบคำถามคุณได้

X) อย่าลืมจดบันทึกไอเดียเด็ดของคุณ:
หาก คุณเพิ่มเนื้อหาใหม่ๆทุกวัน นั่นอาจจะทำให้คุณต้องใช้สมองจนเครียดพอสมควรทีเดียว เพราะฉะนั้นบางครั้งคุณอาจจะคลายเครียดโดยการเปลี่ยนกิจกรรมที่กำลังทำอยู่ เช่น ออกไปเดินเล่น อาบน้ำ แต่เมื่อหลังจากการคลายเครียดแล้ว บางครั้งรายระเอียดที่คุณพยายามคิดมาตั้งนาน ก็พลันหายไปพร้อมกับความเครียด!! ผมแนะนำว่า คุณควรจะจดบันทึกไอเดียของคุณเอาไว้ทุกครั้งที่นึกออก หรือก่อนจะออกไปพัก หรือถ้าคุณมีเครื่องบันทึกเสียงก็ยิ่งดี มันจะช่วยคุณได้ในกรณีที่ไอเดียของคุณหลั่งไหลออกมาจนคุณจดตามไม่ทัน คุณอาจจะพูดๆๆ ใส่เครื่องบันทึกเสียง แล้วค่อยกรอกลับมาฟังใหม่ รับรองไอเดียเด็ดของคุณจะไม่สูญหายไป

Y) ตรวจสอบผลการ Submission เมื่อผ่านไปได้ 6 เดือน:
กลับ ไปดูว่าผลการ Submission กับ Search Engine ต่างๆ หรือ Directory ต่างๆ อย่างเช่น ODP นั้น Index เว็บไซต์ของคุณให้หรือยัง? ถ้ายัง คุณต้อง ReSubmit ไปอีกครั้ง คราวนี้จะมีโอกาสเพิ่มขึ้น เพราะคุณมีเนื้อหาหรือสินค้ามากกว่าเดิม 180 หน้าแล้ว

Z) พยายามสร้างเนื้อหาที่ Search Engine ชอบ ทุกๆวัน:
เนื้อหา ที่ Search Engine ชอบเป็นอย่างไร? อธิบายง่ายๆก็คือเนื้อหาที่มีการคัดกรองมาอย่างดี มีบทนำ มีเนื้อหา มีบทสรุป เน้นในสิ่งที่ควรเน้น มีจำนวนคำต่อหน้าที่พอเหมาะ มีการอ้างอิงถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ได้รับความนิยม (มีจำนวน Link มาหามาก) ไม่ทำผิดกฏของ Search Engine ไม่ใช้ ลูกเล่นหรือ HTML ที่ซับซ้อนจนเกินกว่าที่ Search Engine จะเข้าใจได้ (Search Engine ไม่ฉลาดเท่า Browser)

ถ้าทำตามทั้งหมดแล้วรับรองว่าคุณจะเพิ่มยอดผู้เข้าชมให้คุณได้แน่นอน อยู่ที่ว่าคุณจะทำเต็มที่แค่ไหน?
ตั้งใจอย่างต่อเนื่องแค่ไหน?
อย่างน้อยๆก็ 500 – 2000 คนต่อวัน และหากคุณเพิ่มเนื้อหาดีๆ วันละ 4-5 บทความ หรือถ้าเว็บของคุณขายสินค้า
คุณก็ควรจะมีรายละเอียดสินค้าแบบละเอียดในทุกๆสินค้าที่คุณขายบนเว็บของคุณ นั่นอาจจะทำให้ยอดผู้เข้าชมพุ่งไปถึง 15000 คนต่อวันก็เป็นได้ ขอให้คุณโชคดี และมีความสุขกับการพัฒนาเว็บไซต์ของคุณ

Credit: cymiz

Comments

comments

Translate »