Skip to main content

Intel เปิดตัว Xeon 7500 Series ซีพียู 8 คอร์ 16 เธรด สำหรับเซิร์ฟเวอร์


อินเทล คอร์ปอเรชั่น เปิดเผยถึงศักยภาพของชิปสมรรถนะสูงของอินเทลที่ใช้สถาปัตยกรรม “เนฮาเล็ม” (Nehalem) ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมชิปที่ได้รับรางวัลด้านการดีไซน์ โดยได้เปิดตัว อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ 7500 ในระยะเวลาเพียงไม่ถึงสามเดือน อินเทลได้มีการเปิดตัวโปรเซสเซอร์รุ่นใหม่ทั้งหมดของปี 2553 ทั้งสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบเดสก์ท้อป โน้ตบุ๊ก และเซิร์ฟเวอร์ โดยเพิ่มประสิทธิภาพที่ช่วยประหยัดพลังงาน ความเร็วของระบบประมวลผล ตลอดจนคุณสมบัติใหม่ๆ ที่ทำให้เซิร์ฟเวอร์มีสมรรถนะสูงขึ้น ทั้งประสิทธิภาพ เสถียรภาพ และการใช้งานได้อย่างคล่องตัว

อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ รุ่นใหม่นี้ สามารถใส่ชิปได้ตั้งแต่ 2 ตัว จนถึง 256 ตัวต่อเซิร์ฟเวอร์หนึ่งเครื่อง ส่งผลให้ประสิทธิภาพเพิ่มสูงขึ้นโดยเฉลี่ยถึง 3 เท่าเมื่อเทียบกับ ซีออน ซีรี่ส์ 7400 รุ่นปัจจุบัน และยังสามารถทำคะแนนได้สูงลิ่วเมื่อเทียบด้วยเบนช์มาร์กต่างๆ ที่ใช้วัดระดับสมรรถนะของเซิร์ฟเวอร์ระดับเอ็นเตอร์ไพรซ์ นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติต่างๆ อีกกว่า 20 รายการที่เพิ่มสมรรถนะด้านเสถียรภาพให้กับระบบอีกด้วย

เปลี่ยน เซิร์ฟเวอร์รุ่นเก่าที่ต้องใช้ 20 เครื่อง ให้เหลือเพียงเครื่องเดียวด้วยเซิร์ฟเวอร์รุ่นใหม่

การผสาน ประสิทธิภาพที่สามารถขยายขีดความสามารถได้ เสถียรภาพที่สูงขึ้น และความคุ้มค่าในแง่ของข้อได้เปรียบด้านต่างๆ ที่คุ้มค่าต่อการลงทุน จะทำให้อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ 7500 เปลี่ยนแปลงจากการเป็นโปรเซสเซอร์สำหรับระบบปิด มาเป็นโปรเซสเซอร์ที่ใช้สำหรับเซิร์ฟเวอร์มาตรฐานทั่วไปที่ใช้โปรเซสเซอร์ อินเทล ความสามารถต่างๆ เหล่านี้ช่วยให้ฝ่ายไอทีขององค์กร สามารถเปลี่ยนจากการใช้เซิร์ฟเวอร์รุ่นเก่าที่ใช้ชิปซิงเกิลคอร์ 4 ซ็อกเก็ต รวมจำนวนสูงสุดถึง 20 เครื่อง มาเป็นเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ อินเทล ซีออน ซีรี่ส์ 7500 ซึ่งใช้เพียงเครื่องเดียวเท่านั้นแต่สามารถคงสมรรถนะของระบบได้ในระดับเดียว กัน และยังช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านการใช้พลังงานได้มากสุดถึงร้อยละ 92 สามารถคืนทุนได้ภายในระยะเวลาเพียงปีเดียว ซึ่งเป็นผลจากการลดพลังงานและระบบความเย็นภายในเครื่อง รวมถึงการลดค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการจดลิขสิทธิ์ของระบบ ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีอีกต่อไป

เคิร์ก สกาวเกน รองประธานและผู้จัดการทั่วไป อินเทล อาร์คิเทคเจอร์ กรุ๊ป และผู้จัดการทั่วไปซึ่งดูแล ดาต้าเซ็นเตอร์ กรุ๊ป ของอินเทล กล่าวว่า “ซีออน โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ 7500 ทำให้ความสามารถด้านการประมวลผลที่ซับซ้อนลงมาอยู่ในระดับเมนสตรีมได้ด้วย ประสิทธิภาพการประมวลผล สมรรถนะที่สามารถปรับขยายขีดความสามารถได้ ตลอดจนเสถียรภาพที่มีการพัฒนาให้สูงขึ้นจากเดิมมากที่สุดเท่าที่อินเทลเคยทำ มา การผสมผสานกันอย่างลงตัวดังกล่าว จะช่วยลดข้อจำกัดในเรื่องประสิทธิภาพของเครื่องให้กับผู้ใช้ และยังจะเป็นตัวผลักดันให้อุตสาหกรรมปรับเปลี่ยนการใช้เซิร์ฟเวอร์ที่เป็น ระบบปิดมาเป็นระบบเปิดได้เร็วขึ้นด้วยระบบการประมวลผลระดับไฮเอนด์ที่อินเท ลมีให้”

มาตรฐานใหม่ด้านเสถียรภาพและความสามารถในการขยายระบบ

หน่วย งานหรือองค์กรที่ต้องรับมือกับข้อมูลด้วยเวิร์กโหลดในปริมาณมากและ ซับซ้อน อย่างเช่น โรงพยาบาล หรือตลาดหลักทรัพย์ ไม่สามารถเสี่ยงกับช่วงดาวน์ไทม์ของระบบที่ไม่มีกำหนดเวลาแน่นอนได้ ดังนั้น ลูกค้ากลุ่มนี้จะได้รับประโยชน์จากคุณสมบัติต่างๆ กว่า 20 รายการที่เพิ่มประสิทธิภาพที่ล้ำหน้าให้กับระบบในด้านเสถียรภาพ ความพร้อมของระบบ และความสามารถด้านบริการ (reliability, availability and serviceability – RAS) คุณสมบัติต่างๆ ที่วางใจได้เหล่านี้ได้รับการออกแบบเพื่อปกป้องความถูกต้องของข้อมูล เพิ่มความพร้อมในการให้บริการของระบบ และลดช่วงดาวน์ไทม์ได้ตามกำหนด

ยก ตัวอย่างเช่น ชิปรุ่นนี้ เป็น ซีออน โปรเซสเซอร์ รุ่นแรกที่มี Machine Check Architecture (MAC) Recovery ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ยอมให้ซิลิกอนในซีพียูทำงานร่วมกับระบบปฏิบัติการและ การจัดการเครื่องแบบเวอร์ชวล เพื่อให้สามารถกู้ข้อมูลกลับได้ในกรณีที่ระบบมีความผิดพลาดเกิดขึ้น ซึ่งคุณสมบัติพิเศษข้อนี้ปัจจุบันมีอยู่เฉพาะในโปรเซสเซอร์รุ่น ไอเทเนียม ของอินเทล และในโปรเซสเซอร์แบบ RISC เท่านั้น

อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ ซีรี่ส์ 7500 มีความสามารถเฉพาะตัวในการขยายสมรรถนะของระบบซึ่งทำงานผ่านองค์ประกอบพื้น ฐานที่เป็นโมดูล โดยใช้ Intel® QuickPath Technology (QPI) เป็นตัวเชื่อม

QPI เป็นตัวที่ทำให้เซิร์ฟเวอร์สามารถขยายสมรรถนะด้วยการรองรับโปรเซสเซอร์ได้ ถึงแปดคอร์ด้วยระดับราคาที่คุ้มค่า โดยไม่จำเป็นต้องใช้ node controller chips ของบริษัทอื่นๆ มาใช้เป็น “กาว” เพื่อเชื่อมองค์ประกอบต่างๆ ของระบบเข้าด้วยกันอีกต่อไป นอกจากนี้ อินเทลยังได้ทำงานร่วมกับผู้ผลิตเซิร์ฟเวอร์เพื่อให้สามารถนำส่งเครื่อง สมรรถนะสูงในระดับ “อัลตร้า-สเกล” ซึ่งใช้โปรเซสเซอร์ 16 ตัวสำหรับองค์กรระดับเอ็นเตอร์ไพรซ์ และสามารถขยายขีดความสามารถด้วยจำนวนโปรเซสเซอร์ได้จนถึง 256 ตัว หรือแม้แต่การเพิ่มความสามารถของหน่วยความจำให้สูงถึง 16 เทอราไบท์ (หนึ่งเทอราไบท์ มีค่าเท่ากับ 1,000 กิกะไบท์) เพื่อรองรับการประมวลผลสมรรถนะสูงแบบ “ซูเปอร์ โหนด” ซึ่งต้องประมวลผลแอพพลิเคชั่นต่างๆ ที่ต้องการพลังในการประมวลผลสูงมาก เช่น การวิเคราะห์ผลด้านการเงิน การพยากรณ์อากาศในเชิงสถิติต่างๆ และการจัดเรียงจีโนม (จีโนม คือ ยีนสมบูรณ์ที่อยู่ภายในอวัยวะของคนเรา)

http://www.quickpcextreme.com/blog/archives/6172

Comments

comments

Translate »